วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


     เเนวคิดพื้นฐาน วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนเเปลง การสังเกต (observe) เป็นทักษะ (skill)ที่จะได้

    ข้อมูลเจตคติ (attitude) การอยากรู้อยากเห็น(curious)ของเด็ก การทดลอง(experiment)

    จะครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนเเปลง


การทดลองวิทยาศาสตร์
  
1.เเก้วครอบเทียน

     สิ่งที่เห็น > การเผาไหม้ทุกอย่างต้องการอากาศเมื่อเทียนมีการเผาไหม้ อากาศในเเก้วถูกใช้ไป 

อากาศที่ถูกใช้คือเเก๊สออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งปริมาณของออกซิเจนมีปริมาณ 1 ใน 3 ของอากาศทั้งหมด 

เมื่อการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนไป จึงเกิดที่ว่างขึ้นในเเก้ว สำหรับการทดลองนี้ต้องให้ความแนะนำกับเด็กๆ

เพราะการจุดไฟเป็นอันตรายอย่างมากกับเด็ก การทดลองนี้ฝึกให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงโดยมี

อากาศเป็นตัวตั้งทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง






2. การทดลองพับกระดาษดอกไม้บาน




พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยม




ฉีกกระดาษรอบๆ ให้เป็นรูปดอกไม้เล็กๆ




หลังจากฉีกกระดาษเสร็จจะออกมาเป็นแบบนี้




พับกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมตามแบบที่ตัวเองจะพับ หลวมหรือแน่นก็ได้เพื่อทำการทดลอง




หลังจากพับกระดาษเสร็จก็ทดลองนำมาลอยน้ำ เมื่อกระดาษโดนน้ำกระดาษก็จะคลี่ออก


สรุปการทดลองดอกไม้บาน

1. ถ้านำกระดาษไปลอยน้ำแล้วกระดาษไม่บานเนื่องจากการพับกระดาษเน้นจนเกินไปจึงทำให้กระดาษ

ไม่บานออก

2. ถ้านำกระดาษไปลอยน้ำแล้วกระดาษบานออกเนื่องจากการพับกระดาษหลวมๆ จึงทำให้กระดาษบาน

ออกมาอย่างสวยงามตามที่พับ


กิจกรรมที่ 3 การเจาะรูขวดน้ำดูการไหลของน้ำ

รูที่เจาะ 3 ระดับ คือ บน กลาง ล่าง

สมมุติฐาน คือ น้ำที่ออกมาจากรูที่ 1 น่าจะเเรงที่สุดตามลำดับ

แต่ถ้าปิดฝาขวดมันจะมีแรงดันอากาศทำให้น้ำไหลช้า

ถ้าเปิดฝาขวดออกจะทำให้น้ำไหลเร็วกว่าการปิดฝาน้ำไว้เพราะมีอากาศถ่ายเทมากกว่าการปิดขวดน้ำ


4. ดินน้ำมันลอยน้ำ

-กิจกรรมคือปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปถ้วย หรือตามจินตนาการของแต่ละคนโดยจะทำการทดลองหย่อนดิน

น้ำมันลงน้ำ หลังจากที่หย่อนดินน้ำมันลงน้ำแล้วก็ต้องสังเกตว่าลอยหรือจม ถ้าเกิดดินน้ำมันลอยให้ใส่

ลูกแก้วไปที่ละ 1 ลูก จนกว่าดินน้ำมันจะจม ของตัวดิฉันเองปั้นเป็นรูปสีเหลี่ยมจึงทำให้ดินน้ำมันลอยใส่

ลูกแก้วได้ 1 ลูกก็จม เพื่อนบ้างคนใส่ลูกแก้ว 2-3 ลูกถึงจม เป็นเพราะแรงดันและความหนาแน่นของน้ำ

และดินน้ำมัน

5. แว่นขยายโดยการใช่น้ำ




กิจกรรมการทดลองแว่นขยายนี้จะฝึกการสังเกต ก่อนที่จะเอาดินสอลงไปในแก้วที่มีน้ำอยู่จะเห็นว่า

ดินสอมีขนาดปกติ แต่พอเอาลงไปในแก้วที่มีน้ำเราสังเกตที่ข้างแก้วจะเห็นว่าดินสอมีขนาดใหญ่ขึ้น

เนื่องจากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงทำให้เรามองเห็นดินสอใหญ่ขึ้น


ประเมินตนเอง

-ร่วมการทำกิจกรรมและหลังจากเรียนเสร็จได้ไปค้นหาความหมายของความหนาแน่น


     ความหนาแน่นเป็นสมบัติเฉพาะของวัสดุแต่ละชนิด ที่อาจแปรผันได้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ของไหลจะมีความ

หนาแน่นเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิ และความดันเปลี่ยนแปลง ส่วนของแข็งชนิดเดียวกัน จะมีความหนาแน่นต่างกัน

ได้ตามสภาพของโครงสร้าง มลทิน และรูพรุนในเนื้อของวัสดุนั้น ๆ ในงานเซรามิกส์จำเป็นต้องศึกษาเรื่องความ

หนาแน่นของวัตถุดิบ เนื่องจากความหนาแน่นของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเซรามิกส์ เช่น ดิน หิน แร่ต่าง ๆ หรือ

วัตถุดิบเพื่อการขึ้นรูป ได้แก่น้ำดิน รวมถึงความหนาแน่นของน้ำเคลือบที่ใช้ตกแต่งผลิตภัณฑ์ ล้วนมีผลต่อ

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และวิธีการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่มีข้อกำหนดเฉพาะว่าน้ำดิน และน้ำเคลือบจะต้องมีความหนา

แน่นเท่าใดจึงจะดีที่สุด แต่ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษา ทดสอบและทดลองให้ได้ความหนาแน่นที่เหมาะสมกับสภาพ

การปฏิบัติงานนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดเป็นมาตรฐานของตนเพื่อควบคุมความหนาแน่นในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป

ความหมายและชนิดของความหนาแน่น

ความหนาแน่น (Density) คือ อัตราส่วนของมวลต่อปริมาตร โดยจำแนกความหนาแน่นออกเป็น 4 ชนิด คือ

ความหนาแน่นคริสตัลโลกราฟิค ความหนาแน่นจริง ความถ่วงจำเพาะ และความหนาแน่นปรากฏ ซึ่งความหนา

แน่นแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้ (ดวงเพ็ญ ศรีบัวงาม และอนุรักษ์ ปติรักษ์สกุล, ม.ป.ป., หน้า 135)

1. ความหนาแน่นคริสตัลโลกราฟิค (Crystallographic Density) เป็นความหนาแน่นที่คำนวณได้จาก

โครงสร้างของผลึกที่ไม่มีจุดพร่องใดเลย แต่เนื่องจากวัสดุทุกชนิดในโลกจะต้องมีความบกพร่องเกิดขึ้นในเนื้อ

วัสดุ เช่น มีฟองอากาศ มีแร่หรือมลทินอื่นเจือปน มีโครงสร้างทางผลึกที่ผิดปกติจากที่ควรจะเป็น เป็นต้น ดังนั้น

ความหนาแน่นที่คำนวณจากโครงสร้างของผลึกของวัสดุที่ถือว่าไม่มีจุดบกพร่องใดเลยนี้จึงเรียกว่า ความหนา

แน่นในอุดมคติ

การประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆ ร่วมกันทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาทดลองให้ดูทุกกิจกรรม

-ร่วมกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามเกี่ยวการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปสอนเด็กในอนาคต

การประเมินอาจารย์

-อาจารย์หาสื่อที่หลากหลายมาให้นักศึกษาทดลองได้เห็นภาพจริง และการใช้คำถามเพื่่อให้นักศึกษา

แสดงความคิดเพื่อเป็นความรู้ที่ถูกต้อง












































วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

-นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ที่เหลื่อสัปดาห์ที่แล้ว



โมเดลจรวด



ร่มชูชีพ



-หลังจากการนำเสนอสื่อต่อจากเมื่ออาทิตย์ที่แล้วอาจารย์จึงเข้าเรื่องของการเขียนแผนการสอน


เขียนแผนเรื่องมดฉบับแก้ไข


ประเมินตนเอง

-มีการวางแผนการคิด การเขียนแผนการสอน 5 วัน ร่วมกันคิดกับเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันวางแผนการสอนในหน่วยเรื่องมด คิดการทำสื่อเข้ามุุมที่เด็กจะสามารถเล่นได้จริง แบ่งการสอน

-เพื่อนๆ ในกลุ่มมีความสามัคคีกันดี

ประเมินอาจารย์

-สอดแทรกการนำเสนอสื่อ และให้ข้อแก้ไขแต่ละบุคคลเกี่ยวกับสื่อ

-สอดแทรกการเขียนแผนที่สมบูรณ์ โดยการยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น อธิบายเกี่ยวกับการทำสื่อเข้ามุมอย่าง

เหมาะสม


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

      วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกมานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ ซึ้งเป็นสื่อที่อาจารย์

สั่งไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ในการทำสื่อวิทยาศาสตร์นี้จะต้องเป็นการใช้อุประกรณ์จากวัสดุเหลือใช้หรือ

เป็นวัสดุจากธรรมชาติ โดยเพื่อนๆที่ทำสื่อมานำเสนอวันนี้ต้องเป็นสื่อที่เหมาะแก่การนำไปใช้สอนเด็ก

เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ อาจจะเป็นเรื่องของอากาศ ลม แสงแต่ดิฉันนำสื่อหนังสติกมานำ

เสนอซึ่งเป็นอันตรายกับเด็กมาก ครูจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้เด็กยิงหนังสติกใส่กันเพราะอาจเกิด

อันตรายร้ายแรงแก่เด็กได้



วิธีการเล่น

-ก็จะมีลูกดอก 1-2 ลูก จากนั้นก็ยืดยางข้างบนออกแล้วออกแรงยิงลูกดอกก็จะกระเด่นออกไปตามแรง

ดึงของเรา

แรงดึง




       แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มี

ความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

           ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ

           1. 
ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) 
หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง 

ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น

           2. 
ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง 

เช่น เวลา พลังงาน ความยาว  อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น

            การเขียนเวกเตอร์ของแรง

         
การเขียนใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง

   2. การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ 

      2.1 การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง 
แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

              1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์  
กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง

              2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าใน

แนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน

       
 2.2 อัตราเร็ว ความเร่ง และความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ 

              1. อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ใน 1 หน่วยเวลา

              2. ความเร่งในการเคลื่อนที่ หมายถึง ความเร็วที่เพิ่มขึ้นใน 1 หน่วยเวลา เช่น วัตถุตกลงมา

จากที่สูงในแนวดิ่ง

              3. ความหน่วงในการเคลื่อนที่ของวัตถุ หมายถึง ความเร็วที่ลดลงใน 1 หน่วยเวลา เช่น โยน

วัตถุขึ้นตรงๆ ไปในท้องฟ้า

   3. การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  

          3.1 การเคลื่อนที่แบบวงกลม 
หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิด

ขึ้นเนื่องจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่

ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม

รอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก

          3.2 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวราบ  เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก เช่น 

รถยนต์ที่กำลังแล่นอยู่บนถนน

             3.3 การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ผสมระหว่างการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและใน

แนวราบ


ตัวอย่างสื่อของเพื่อนๆ


นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ



 กีต้าสามเหลี่ยม


การประเมินตนเอง

-การนำเสนอสื่อที่มีอันตรายกับเด็กมากเกินไป

-คิดหาสื่อที่มีความเหมาะสมกับเด็กและเด็กต้องได้รับประโยนช์จากสื่อมากที่สุด

-มีความรับผิดชอบในการนำสื่อมานำเสนอตรงเวลา

การประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆ บางคนทำสื่อมาผิดไม่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อนแต่ละคนมีความรับผิดชอบนำสื่อ

มานำเสนอตรงเวลาทุกคน ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนทุกๆ คน

-เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ

-ร่วมกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์สอดแทรกความรู้และข้อแก้ไขในการนำเสนอสื่อแต่ละบุคคลว่ามีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ตรงไหน และหลักการมาจากไหน


บันทึกอนุทินครั้ง 8


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


อยู่ระหว่างการสอบกลางภาค

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


     รูรับแสงหรือ Aperture คือปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มันถูกติดตั้งอยู่


ที่ตัวเลนส์โดยมีลักษณะที่สามารถย่อให้เล็กหรือขยายให้ใหญ่ได้จากการควบคุมของผู้ถ่ายภาพผ่าน


กลไกการทำงานของกล้องและเลนส์โดยหน้าที่ของมันคือการควบคุมปริมาณแสงที่จะเดินทางผ่านเลนส์


ยิ่งรูรับแสงมีขนาดใหญ่มากแสงก็จะยิ่งผ่านได้มาก ในทางกลับกันถ้ารูรับแสงมีขนาดที่เล็กลงแสงก็จะ


เดินทางผ่านเข้าไปได้น้อยด้วย ซึ่งลักษณะในการควบคุมปริมาณแสงนี้จะมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพ


ที่ต้องใช้แสงในการบันทึกภาพ หากแสงมีปริมาณน้อยเกินไปภาพก็จะมืด แต่ถ้าแสงมีปริมาณมากเกินไป


ภาพก็จะสว่างถ้าอย่างนั้นเราจะต้องควบคุมรูรับแสงให้เล็กหรือใหญ่ไปเพื่ออะไร? คำตอบก็คือนอกจาก


เรื่องของปริมาณแสงแล้ว รูรับแสงขนาดเล็กหรือใหญ่ยังมีผลต่อ ช่วงระยะชัด (Depth of Field) ของ


ภาพถ่ายด้วย รูรับแสงกว้างจะมีพื้นที่ของช่วงระยะชัดที่สั้น ส่วนรูรับแสงแคบจะมีพื้นที่ของช่วงระยะชัด


ครอบคลุมมากกว่าหรือไกลกว่า



สรุป VDO ความลับของแสง





ประเมินตนเอง

-จาการดูวิดีโอความลับของแสงก้อได้ทำการทดลองตามก็เห็นถึงการหักเหของแสงที่กระทบกับวัตถุเกิด

เป็นเงาขึ้นมา

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆ ทำการบ้านความลับของแสงเป็น may maid ส่งทุกคน มีความรับผิดชอบ

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแสงให้อย่างหนาแน่นอธิบายให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง