วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.


     เเนวคิดพื้นฐาน วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนเเปลง การสังเกต (observe) เป็นทักษะ (skill)ที่จะได้

    ข้อมูลเจตคติ (attitude) การอยากรู้อยากเห็น(curious)ของเด็ก การทดลอง(experiment)

    จะครอบคลุมไปถึงการเปลี่ยนเเปลง


การทดลองวิทยาศาสตร์
  
1.เเก้วครอบเทียน

     สิ่งที่เห็น > การเผาไหม้ทุกอย่างต้องการอากาศเมื่อเทียนมีการเผาไหม้ อากาศในเเก้วถูกใช้ไป 

อากาศที่ถูกใช้คือเเก๊สออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งปริมาณของออกซิเจนมีปริมาณ 1 ใน 3 ของอากาศทั้งหมด 

เมื่อการเผาไหม้ใช้ออกซิเจนไป จึงเกิดที่ว่างขึ้นในเเก้ว สำหรับการทดลองนี้ต้องให้ความแนะนำกับเด็กๆ

เพราะการจุดไฟเป็นอันตรายอย่างมากกับเด็ก การทดลองนี้ฝึกให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงโดยมี

อากาศเป็นตัวตั้งทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง






2. การทดลองพับกระดาษดอกไม้บาน




พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยม




ฉีกกระดาษรอบๆ ให้เป็นรูปดอกไม้เล็กๆ




หลังจากฉีกกระดาษเสร็จจะออกมาเป็นแบบนี้




พับกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมตามแบบที่ตัวเองจะพับ หลวมหรือแน่นก็ได้เพื่อทำการทดลอง




หลังจากพับกระดาษเสร็จก็ทดลองนำมาลอยน้ำ เมื่อกระดาษโดนน้ำกระดาษก็จะคลี่ออก


สรุปการทดลองดอกไม้บาน

1. ถ้านำกระดาษไปลอยน้ำแล้วกระดาษไม่บานเนื่องจากการพับกระดาษเน้นจนเกินไปจึงทำให้กระดาษ

ไม่บานออก

2. ถ้านำกระดาษไปลอยน้ำแล้วกระดาษบานออกเนื่องจากการพับกระดาษหลวมๆ จึงทำให้กระดาษบาน

ออกมาอย่างสวยงามตามที่พับ


กิจกรรมที่ 3 การเจาะรูขวดน้ำดูการไหลของน้ำ

รูที่เจาะ 3 ระดับ คือ บน กลาง ล่าง

สมมุติฐาน คือ น้ำที่ออกมาจากรูที่ 1 น่าจะเเรงที่สุดตามลำดับ

แต่ถ้าปิดฝาขวดมันจะมีแรงดันอากาศทำให้น้ำไหลช้า

ถ้าเปิดฝาขวดออกจะทำให้น้ำไหลเร็วกว่าการปิดฝาน้ำไว้เพราะมีอากาศถ่ายเทมากกว่าการปิดขวดน้ำ


4. ดินน้ำมันลอยน้ำ

-กิจกรรมคือปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปถ้วย หรือตามจินตนาการของแต่ละคนโดยจะทำการทดลองหย่อนดิน

น้ำมันลงน้ำ หลังจากที่หย่อนดินน้ำมันลงน้ำแล้วก็ต้องสังเกตว่าลอยหรือจม ถ้าเกิดดินน้ำมันลอยให้ใส่

ลูกแก้วไปที่ละ 1 ลูก จนกว่าดินน้ำมันจะจม ของตัวดิฉันเองปั้นเป็นรูปสีเหลี่ยมจึงทำให้ดินน้ำมันลอยใส่

ลูกแก้วได้ 1 ลูกก็จม เพื่อนบ้างคนใส่ลูกแก้ว 2-3 ลูกถึงจม เป็นเพราะแรงดันและความหนาแน่นของน้ำ

และดินน้ำมัน

5. แว่นขยายโดยการใช่น้ำ




กิจกรรมการทดลองแว่นขยายนี้จะฝึกการสังเกต ก่อนที่จะเอาดินสอลงไปในแก้วที่มีน้ำอยู่จะเห็นว่า

ดินสอมีขนาดปกติ แต่พอเอาลงไปในแก้วที่มีน้ำเราสังเกตที่ข้างแก้วจะเห็นว่าดินสอมีขนาดใหญ่ขึ้น

เนื่องจากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงทำให้เรามองเห็นดินสอใหญ่ขึ้น


ประเมินตนเอง

-ร่วมการทำกิจกรรมและหลังจากเรียนเสร็จได้ไปค้นหาความหมายของความหนาแน่น


     ความหนาแน่นเป็นสมบัติเฉพาะของวัสดุแต่ละชนิด ที่อาจแปรผันได้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ของไหลจะมีความ

หนาแน่นเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิ และความดันเปลี่ยนแปลง ส่วนของแข็งชนิดเดียวกัน จะมีความหนาแน่นต่างกัน

ได้ตามสภาพของโครงสร้าง มลทิน และรูพรุนในเนื้อของวัสดุนั้น ๆ ในงานเซรามิกส์จำเป็นต้องศึกษาเรื่องความ

หนาแน่นของวัตถุดิบ เนื่องจากความหนาแน่นของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเซรามิกส์ เช่น ดิน หิน แร่ต่าง ๆ หรือ

วัตถุดิบเพื่อการขึ้นรูป ได้แก่น้ำดิน รวมถึงความหนาแน่นของน้ำเคลือบที่ใช้ตกแต่งผลิตภัณฑ์ ล้วนมีผลต่อ

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และวิธีการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่มีข้อกำหนดเฉพาะว่าน้ำดิน และน้ำเคลือบจะต้องมีความหนา

แน่นเท่าใดจึงจะดีที่สุด แต่ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษา ทดสอบและทดลองให้ได้ความหนาแน่นที่เหมาะสมกับสภาพ

การปฏิบัติงานนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดเป็นมาตรฐานของตนเพื่อควบคุมความหนาแน่นในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป

ความหมายและชนิดของความหนาแน่น

ความหนาแน่น (Density) คือ อัตราส่วนของมวลต่อปริมาตร โดยจำแนกความหนาแน่นออกเป็น 4 ชนิด คือ

ความหนาแน่นคริสตัลโลกราฟิค ความหนาแน่นจริง ความถ่วงจำเพาะ และความหนาแน่นปรากฏ ซึ่งความหนา

แน่นแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้ (ดวงเพ็ญ ศรีบัวงาม และอนุรักษ์ ปติรักษ์สกุล, ม.ป.ป., หน้า 135)

1. ความหนาแน่นคริสตัลโลกราฟิค (Crystallographic Density) เป็นความหนาแน่นที่คำนวณได้จาก

โครงสร้างของผลึกที่ไม่มีจุดพร่องใดเลย แต่เนื่องจากวัสดุทุกชนิดในโลกจะต้องมีความบกพร่องเกิดขึ้นในเนื้อ

วัสดุ เช่น มีฟองอากาศ มีแร่หรือมลทินอื่นเจือปน มีโครงสร้างทางผลึกที่ผิดปกติจากที่ควรจะเป็น เป็นต้น ดังนั้น

ความหนาแน่นที่คำนวณจากโครงสร้างของผลึกของวัสดุที่ถือว่าไม่มีจุดบกพร่องใดเลยนี้จึงเรียกว่า ความหนา

แน่นในอุดมคติ

การประเมินเพื่อน

-เพื่อนๆ ร่วมกันทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาทดลองให้ดูทุกกิจกรรม

-ร่วมกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามเกี่ยวการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปสอนเด็กในอนาคต

การประเมินอาจารย์

-อาจารย์หาสื่อที่หลากหลายมาให้นักศึกษาทดลองได้เห็นภาพจริง และการใช้คำถามเพื่่อให้นักศึกษา

แสดงความคิดเพื่อเป็นความรู้ที่ถูกต้อง












































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น